fbpx

เราควรลงทุนอย่างไรในช่วง เงินเฟ้อสูง ?

ลงทุนในยุคนี้ เผชิญทั้ง เงินเฟ้อสูง และภาวะเศรษฐกิจซบเซา ที่ค่าเงินมีมูลค่าน้อยลง ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการลดลง และเมื่อต้องการนำเงินไปลงทุน ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงหลายด้าน อาจทำให้ขาดทุนหรือสูญเสียเงินลงทุนไป เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลก ทำให้นักลงทุนหลายคน หาวิธีและช่องทางในการลงทุนที่เสี่ยงน้อยและได้รับผลตอบแทนกลับมาที่คุ้มค่า

ดังนั้นในการจะหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนช่องทางต่างๆ ต้องเริ่มจาการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการตั้งคำถามสำคัญหลักๆ 3 ข้อ เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน คือ

ซึ่งเราจะแบ่งบทความออกเป็นทั้งหมด 3 ตอน เพื่อให้เราได้อ่าน เรียนรู้และวางแผนในการลงทุนให้เหมาะสมกับ
สภาวะการณ์และความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงวิเคราะห์ช่องทางการลงทุนและสภาพทางการเงินของเรา ให้สอดคล้องกัน เพื่อก่อเกิดเป็นผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ลงทุน

ตอนที่ 1 – เราควรลงทุนอย่างไรในช่วงเงินเฟ้อสูง

สำหรับนักลงทุนแล้ว เงินเฟ้อ  เปรียบเสมือนศัตรูใหญ่ ผู้สร้างอุปสรรคในการลงทุน ที่คอยดึงเศรษฐกิจที่ให้ดิ่งลงเรื่อยๆ จนเกิดการชะลอการลงทุนซื้อขาย รวมถึงดึงหุ้นต่างๆให้ดิ่งลง นำไปสู่ความเสียหายแก่เจ้าของธุรกิจและนักลงทุนอย่างมหาศาล

แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าในทุกสถานการณ์ ย่อมมีโอกาสเสมอ ในตอนที่ 1 นี้ เราจะมาดูว่า การลงทุนในสภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้ มีอะไรบ้าง มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร

 

หลักการลงทุนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่เป็นปัจจัยประกอบที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ อาทิ เงินเฟ้อสูง รวมถึงความผันผวนทางธุรกิจที่สูงเช่นกัน โดยแบ่งคนเป็นสองกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยงไม่ควรถือเงินสดไว้ โดยไม่ทำธุรกรรมใดๆ เนื่องจากค่าเงินที่มีอยู่จะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนกลุ่มที่สามารถรับความเสี่ยงด้านความผันผวนต่างๆได้ มักจะมีโอกาสที่ดี ในการพบช่องทางและแหล่งลงทุน มาให้ประเมิน ซึ่งขึ้นอยู่กับความมั่นใจและการวางแผนอนาคตธุรกิจของผู้ลงทุนแต่ละคน

หลักทรัพย์ที่ กลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง  ที่เหมาะกับการศึกษารายละเอียด คือประเภทที่จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ และหุ้นธุรกิจแนวตั้งรับที่จ่ายเงินปันผลสูง โดยควรพิจราณาความเสี่ยง ระยะเวลาถือ และผลตอบแทนในการคัดเลือก ยกตัวอย่างดังนี้

  1. พันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3% * ข้อดี คือความเสี่ยงต่ำ ข้อเสีย คือผลตอบแทนที่หักเงินเฟ้อ 6%* แล้วติดลบ และถูกล็อคระยะยาว อาจทำให้เสียโอกาสตอนเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
  2. การระดมทุนเงินกู้โดยบริษัทเอกชน
    • หุ้นกู้ออกโดยบริษัทเอกชน เช่น ของ บมจ. ปตท. ที่เสนอขายไปช่วงเดือนพฤษภาคม อายุ 7 ปี ให้ดอกเบี้ย 3.25% ข้อดี คือความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ข้อเสีย คือผลตอบแทนที่หักเงินเฟ้อ 6%* แล้วติดลบ และถูกล็อคไว้ช่วงนึง ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อน 7 ปีอาจทำให้เสียโอกาส
    • สัญญาเงินกู้โดยบริษัทเอกชน เช่น ของ บจก. อาไจล์ แอสเซ็ทส์ อายุ 2 ปี ให้ดอกเบี้ย 8%*
      อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และจ่ายคืนทุกเดือน โดยธุรกิจมีเสถียรภาพ ปล่อยสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องจักรให้โรงงานอุตสาหกรรม ข้อดี คือความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นธุรกิจแนวตั้งรับที่จ่ายเงินปันผลสูง ให้ผลตอบแทนสูง สามารถอยู่ได้ในภาวะเงินเฟ้อ และข้อผูกมัดระยะสั้น ข้อเสีย คือสัญญาเงินกู้ไม่มีตลาดรองรับ ไม่สามารถขายในตลาดกลุ่มตราสารหนี้ได้
  3. หุ้นธุรกิจแนวตั้งรับที่จ่ายเงินปันผลสูง เช่น บมจ. ทีทีดับบลิว (TTW หรือเดิมชื่อ Thai Tap Water บริษัทในเครือของ บมจ. ช. การช่าง) ที่ธุรกิจเสถียรมาก ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาแก่การประปาภูมิภาค จ่ายเงินปันผลอยู่ที่ 5%* ข้อดี คือบริษัทน่าจะได้ผลกระทบจากเงินเฟ้อน้อย มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ข้อเสีย คือผลตอบแทนที่หักเงินเฟ้อ 6%* จะติดลบเล็กน้อย และหากต้องการเงินลงทุนคืนต้องมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งราคาผันผวนไม่คงที่ ซึ่งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง50-12.10 (ราคาปัจจุบัน 10.80*)

หลักทรัพย์ที่ กลุ่มที่รับความเสี่ยงได้ ที่น่าศึกษารายละเอียดที่สุดคือ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยความผันผวนของธุรกิจบวกกับความผันผวนของตลาดจะทำให้มีโอกาสลงทุนที่ดีมาให้ประเมินและพิจารณาเสมอและสามารถขายออกได้สะดวกกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นบริษัทเอกชนอื่นๆ การลงทุนประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญในอุตสาหกรรมต่างๆ ของนักลงทุตแต่ละคน ว่าสามารถมองเห็นอนาคตการลงทุนได้ชัดเจนเพียงใด โดยเบื้องต้นคือตลาดระยะยาวมีโอกาสเติบโตหรือไม่ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเป็นอย่างไร มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผ่านช่วงผันผวนเพียงพอหรือไม่ แต่ในภาพรวมผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดที่ผ่านมาคือ 10% ซึ่งมากกว่าหลักทรัพย์ประเภทจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอที่กล่าวด้านบนอย่างชัดเจน หากพิจารณาตัวชี้วัด ค่าเฉลี่ย P/E ของตลาดหลักทรัพย์ของไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 20 เท่า โดยปัจจุบัน P/ E ตลาดอยู่ที่ 18 เท่า จะเห็นได้ว่าเป็นช่วงที่ “ไม่แพง” โดยมีระยะการถือครองที่เพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ที่สะท้อนคุณค่าของบริษัท ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 3-5 ปี ในช่วงเงินเฟ้อการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการขึ้นราคาขาย ส่งต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ลูกค้า มีความสำคัญอย่างมาก เพราะสะท้อนความสามารถในการแข่งขันที่ดี ไม่โดนลดทอนกำไรจากภาวเงินเฟ้อ หากตลาดของบริษัทกำลังเติบโต ผลกำไรและราคาหุ้นของบริษัทจะเป็นไปในทางได้ดี ยกตัวอย่างบริษัทรับมือกับภาวะเงินเฟ้อได้ดี เช่น

  1. บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ทำธุรกิจบริการสื่อสารผ่านโครงข่าย ปัจจุบัน DTAC ควบกับ True และคู่แข่งอย่าง AIS กำลังควบรวมกับ Jasmine ทำให้เหลือผู้เล่นในตลาดเพียงสองค่ายหลักเท่านั้น ซึ่งจะทำให้การปรับราคาสะท้อนต้นทุน เป็นเป็นไปได้ไม่ยากนัก ส่วนต้นทุนทางบริษัทลงทุนครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวและเพื่อรอเก็บรายได้ค่าบริการ ค่าใช้จ่ายบุคลากรและค่าไฟฟ้านับเป็นรายได้ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์โครงข่าย
  2. บมจ. ไทยเทพรส (SAUCE) ทำธุรกิจซอสปรุงรส เป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ทุกครัวเรือน รวมถึงทุกร้านอาหาร ที่ต้องใช้ในการประกอบอาหาร มีแบรนด์ภูเขาทองและศรีราชาพานิช ที่แข็งแกร่ง ติดตลาดและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป แม้ต้องขึ้นราคา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น แต่ผู้บริโภคยังต้องมีความต้องการซื้อ และไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแบรนด์อื่นที่ราคาถูกกว่า

หลักการเลือกหุ้นเพื่อลงทุน ยังมีแนวทางและข้อมูลอีกมากมาย ซึ่งจะเขียนและลแนวทางต่างๆในบทต่อไป

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฏาคม 2565

 

บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท

SearchGoogleInflation

บทความที่เกี่ยวข้อง